วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้วิจัย ประภาพร ที่ไพบูลย์

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 
เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัยในประเด็นต่อไปนี้
1. หาคุณภาพแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัย
2. สร้างเกณฑปกติ (norms) และคูมือการใชแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัย
ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า
1. ทําให้ไดแบบทดสอบที่มีคุณภาพไปใชในการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย เพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับปฐมวัย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อไป
2. ผลของการวิจัยครั้งนี้ เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะด้าน อื่น ๆ ต่อไป
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรที่ใชในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย ปที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จํานวน 2,939 คน (สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1. 2547 : 1)
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย ปที่2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จํานวน 375 คน ซึ่งไดจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi - stage random sampling)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร จํานวน 7 ฉบับ คือ
3.1 แบบทดสอบทักษะการสังเกต
3.2 แบบทดสอบทักษะการวัด
3.3 แบบทดสอบทักษะการจําแนกประเภท
3.4 แบบทดสอบทักษะการหาความสัมพันธระหว่างมิติกับมิติ
3.5 แบบทดสอบทักษะการใช้ตัวเลข
3.6 แบบทดสอบทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล
3.7 แบบทดสอบทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
4. คุณภาพของแบบทดสอบ
4.1 ความเที่ยงตรง (validity)
4.1.1 ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity)
4.1.2 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสราง (construct validity)
4.2 ความยากง่าย (difficulty)
4.3 อํานาจจําแนก (discrimination)
4.4 ความเชื่อมั่น (reliability)
4.5 เกณฑปกติ(norms)
วิธีดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ติดต่อโรงเรียนที่ใชเป็นกลุ่มตัวอย่าง ขออนุญาตผู้บริหารโรงเรียนเพื่อกําหนดวันและ เวลาดําเนินการสอบ
2. เตรียมแบบทดสอบใหเพียงพอกับจํานวนนักเรียนที่สอบในแตละครั้ง และวางแผน ในการดําเนินการสอบ
3. อธิบายให้ผู้ดําเนินการสอบเข้าใจวัตถุประสงคและผลที่ได้รับจากการทําแบบทดสอบ
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช
ในการวิจัยครั้งนี้ผูวิจัยทําการวิเคราะหเครื่องมือโดยหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้
1. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ใชวิธีการใหผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและผลคะแนนที่ไดจากผู้เชี่ยวชาญคํานวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : index of item - objective congrucnec) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2539 : 246)
2. ความยากง่ายรายข้อโดยใชเทคนิค 27 เปอรเซ็นต คํานวณโดยใช้สูตรอย่างง่าย (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 115)
3. อํานาจจําแนกรายข้อโดยใชเทคนิค 27 เปอรเซ็นต คํานวณโดยใช้สูตรอย่างง่าย (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 216)
4. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยตรวจสอบสัมประสิทธิ์ความ สอดคล้องภายในระหวางคะแนนเป็นรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ (item - total correlation) ด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธอย่างง่ายของเพียรสัน (Pearson,s product - moment correlation coeffcient) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2536 : 168)
5. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (reliability) ใชวิธีการของคูเดอรริชารดสัน (Kuder Richardson) สูตร KR-20 (ลวน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 168)
6. สร้างเกณฑปกติ (norms) ผูวิจัยไดนําคะแนนของแบบทดสอบแปลงใหเป็นคะแนน ที่ปกติและปรับขยายโดยวิธีกําลังสองต่ําสุด (เสริม ทัศศรี. 2545 : 116 - 120)
สรุปผล
พัฒนาด้านร่างกาย

  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
  • ได้ซ้อมรับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง 
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างต่อเนื่อง 
  • เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นคงที่กำหนด 
  • ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้ดีเช่นติดกระดุมผูกเชือกรองเท้า  
  • ยืดตัวคล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ 

  • แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม 
  • ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น 
  • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม 

  • ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  • เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายกับผู้อื่น 
  • พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ทำความเคารพ
  • รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่ 
  • รับผิดชอบงานที่ได้มอบหมาย

พัฒนาการด้านสติปัญญา 

  • บอกความแตกต่างของกินสี เสียงรถรูปร่างจำแนกและ. จัดหมวด สิ่งของได้ 
  • บอกชื่อนามสกุลและอายุของตนเองได้ 
  • พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเป็นเรื่องราวได้ 
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
  • รู้จักใช้คำถามทำไมอย่างไร 
  • เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมอาจนับปากเปล่าได้ถึง 20 สรุปได้ว่าคุณลักษณะตามวัยของเด็กจะมีพัฒนาการตามอายุกูและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กเด็กได้รับการพัฒนาที่สะสมและตื่นตามศักยภาพของตนเอง



สรุปวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจากโทรทัศน์ครู
จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย 
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"

             เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทาให้เกิดได้ยินเสียง
              แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทาให้ได้ยินเสียงดังมากกว่า เสียงที่มีพลังงานน้อย
เสียงเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ

        เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์          ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบลคำถามที่ครูใช้ถามเด็ก 1.เสียงเกิดจากอะไร
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน)
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย )
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด 2.ขวดถั่วเขียว 3.เกลือ 4 .ยางรัดของ 5.ตะปู 6.ส้อมเสียง 7.ขวดใส่น้า
8.แก้วทรงสูง 9. อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 10.โทรศัพท์กระป๋อง 11.แบบฝึกหัด

สรุป บทความ
บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ
    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

พื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย

1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ

Diary Note 24 November 2015

Diary Note No.15


-เพื่อนนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ครู บทความ

-ไปศึกษามหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558





 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-เจ้าหน้าที่ประจำบูทต่างได้แนะนำอธิบายความรู้ต่างๆให้ฟัง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของแต่ละบูท
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคต่างๆไปใ้กับเด็ก
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-เจ้าหน้าที่บอกเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์

Diary Note 17 November 2015

Diary Note No.14


ทำคุกกิ้ง(cooking)

บัวลอย แบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 ผสมแป้งและสีให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 ปั้นแป้งเป็นรูปวงกลมเล็กๆ
ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้มาใส่ในหม้อพอแป้งลอยก็ตักขึ้นและราดด้วยน้ำกะทิพร้อมรับประทาน



บลูเบอรี่ชีสพายแบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 นำโอริโอ้มาบดพร้อมใส่เนยที่ละลายมาแล้วผสมให้เข้ากัน
ฐานที่่ 2 นำครีมชีส มะนาว โยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง ตีให้เข้ากันแล้ว
ฐานที่ 3 นำบลูเบอรี่มาราดหน้าครีมที่ผสมมาและตกแต่งด้วยช็อคชิพเยลลี่




ไอศครีม แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน

อุปกรณ์
 นมสด เกลือ น้ำแข็ง ถึงซิปล็อค นมข้นหวาน วิปครีม 

วิธีทำ 
นำนมสด นมข้น วิปครีม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทใส่ถุงซิปล็อคขนาดเล็กและนำน้ำแข็งเกลือและนมสด
ที่ใส่ในถุงขนาดเล็กมาใส่ถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ และเขย่าจนกว่านมสดจะแข็งเป็นไอศครีม พอแข็งให้ตักแบ่ง
ใส่ถ้วนและตกแต่งด้วยช็อคชิฟวิปครีมพร้อมรับประทาน




 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 10 November 2015

Diary Note No.13


ทำคุกกิ้ง(cooking)


วาฟเฟิล จะแบ่งเป็น กลุ่ม โดยกลุ่มละ 3 คน โดยมี แป้ง ไข่ นม และน้ำ ตีให้เข้ากัน จากนั้นนำแป้งที่ผสม
ไปเทใส่เตาวาฟเฟิลพอสุกก็นำมาตกแต่ง



ข้าวทาโกยากิ จะแบ่งเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ตอกไข่และใส่ข้าวผสมให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 นำไปปรุงรส
ฐานที่ 3 นำไปใส่หลุม พลิกไปมาจนสุก
ฐานที่ 4 ราดซอสตกแต่งด้วยส่าหร่าย พร้อมรับประทาน


วาฟเฟิลกับข้าวทาโกยากิที่ทำสำเร็จ 


ตรวจแผนการทดลองและคุกกิ้ง




เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 3 November 2015

Diary Note No.12


อาจารย์ตรวจแผนและบอกข้อบกพร่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม 
แผนการทำคุกกิ้งและการทดลองโดยในแผนต้องมี

วัตถุประสงค์ ต้องควบคลุมทั้ง 4 ด้านของเด็ก

สาระที่ควรรู้ จะให้เด็กได้รู้จิงๆและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ

กิจกรรมการรู้ ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างถูกต้อง

แหล่งการเรียนรู้และสื่อ คือวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

การวัดและประเมินผล วัดจากการสังเกตเด็ก

บูรณาการโดยเกี่ยวข้องกับวิชาอื่นๆได้

เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกการเขียนแผนอย่างละเอียด
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การเขียนแผนการสอนอย่างถูกต้อง
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำการเขียนแผนที่ถูกต้องไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกข้อบกพร่องของการเขียนแผนของนักศึกษาแต่บอกสิ่งที่ถูกต้อง