วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้วิจัย ประภาพร ที่ไพบูลย์

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 
เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัยในประเด็นต่อไปนี้
1. หาคุณภาพแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัย
2. สร้างเกณฑปกติ (norms) และคูมือการใชแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัย
ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า
1. ทําให้ไดแบบทดสอบที่มีคุณภาพไปใชในการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย เพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับปฐมวัย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อไป
2. ผลของการวิจัยครั้งนี้ เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะด้าน อื่น ๆ ต่อไป
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรที่ใชในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย ปที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จํานวน 2,939 คน (สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1. 2547 : 1)
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย ปที่2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จํานวน 375 คน ซึ่งไดจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi - stage random sampling)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร จํานวน 7 ฉบับ คือ
3.1 แบบทดสอบทักษะการสังเกต
3.2 แบบทดสอบทักษะการวัด
3.3 แบบทดสอบทักษะการจําแนกประเภท
3.4 แบบทดสอบทักษะการหาความสัมพันธระหว่างมิติกับมิติ
3.5 แบบทดสอบทักษะการใช้ตัวเลข
3.6 แบบทดสอบทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล
3.7 แบบทดสอบทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
4. คุณภาพของแบบทดสอบ
4.1 ความเที่ยงตรง (validity)
4.1.1 ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity)
4.1.2 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสราง (construct validity)
4.2 ความยากง่าย (difficulty)
4.3 อํานาจจําแนก (discrimination)
4.4 ความเชื่อมั่น (reliability)
4.5 เกณฑปกติ(norms)
วิธีดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ติดต่อโรงเรียนที่ใชเป็นกลุ่มตัวอย่าง ขออนุญาตผู้บริหารโรงเรียนเพื่อกําหนดวันและ เวลาดําเนินการสอบ
2. เตรียมแบบทดสอบใหเพียงพอกับจํานวนนักเรียนที่สอบในแตละครั้ง และวางแผน ในการดําเนินการสอบ
3. อธิบายให้ผู้ดําเนินการสอบเข้าใจวัตถุประสงคและผลที่ได้รับจากการทําแบบทดสอบ
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช
ในการวิจัยครั้งนี้ผูวิจัยทําการวิเคราะหเครื่องมือโดยหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้
1. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ใชวิธีการใหผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและผลคะแนนที่ไดจากผู้เชี่ยวชาญคํานวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : index of item - objective congrucnec) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2539 : 246)
2. ความยากง่ายรายข้อโดยใชเทคนิค 27 เปอรเซ็นต คํานวณโดยใช้สูตรอย่างง่าย (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 115)
3. อํานาจจําแนกรายข้อโดยใชเทคนิค 27 เปอรเซ็นต คํานวณโดยใช้สูตรอย่างง่าย (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 216)
4. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยตรวจสอบสัมประสิทธิ์ความ สอดคล้องภายในระหวางคะแนนเป็นรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ (item - total correlation) ด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธอย่างง่ายของเพียรสัน (Pearson,s product - moment correlation coeffcient) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2536 : 168)
5. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (reliability) ใชวิธีการของคูเดอรริชารดสัน (Kuder Richardson) สูตร KR-20 (ลวน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 168)
6. สร้างเกณฑปกติ (norms) ผูวิจัยไดนําคะแนนของแบบทดสอบแปลงใหเป็นคะแนน ที่ปกติและปรับขยายโดยวิธีกําลังสองต่ําสุด (เสริม ทัศศรี. 2545 : 116 - 120)
สรุปผล
พัฒนาด้านร่างกาย

  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
  • ได้ซ้อมรับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง 
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างต่อเนื่อง 
  • เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นคงที่กำหนด 
  • ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้ดีเช่นติดกระดุมผูกเชือกรองเท้า  
  • ยืดตัวคล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ 

  • แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม 
  • ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น 
  • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม 

  • ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  • เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายกับผู้อื่น 
  • พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ทำความเคารพ
  • รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่ 
  • รับผิดชอบงานที่ได้มอบหมาย

พัฒนาการด้านสติปัญญา 

  • บอกความแตกต่างของกินสี เสียงรถรูปร่างจำแนกและ. จัดหมวด สิ่งของได้ 
  • บอกชื่อนามสกุลและอายุของตนเองได้ 
  • พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเป็นเรื่องราวได้ 
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
  • รู้จักใช้คำถามทำไมอย่างไร 
  • เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมอาจนับปากเปล่าได้ถึง 20 สรุปได้ว่าคุณลักษณะตามวัยของเด็กจะมีพัฒนาการตามอายุกูและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กเด็กได้รับการพัฒนาที่สะสมและตื่นตามศักยภาพของตนเอง



สรุปวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจากโทรทัศน์ครู
จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย 
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"

             เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทาให้เกิดได้ยินเสียง
              แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทาให้ได้ยินเสียงดังมากกว่า เสียงที่มีพลังงานน้อย
เสียงเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ

        เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์          ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบลคำถามที่ครูใช้ถามเด็ก 1.เสียงเกิดจากอะไร
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน)
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย )
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด 2.ขวดถั่วเขียว 3.เกลือ 4 .ยางรัดของ 5.ตะปู 6.ส้อมเสียง 7.ขวดใส่น้า
8.แก้วทรงสูง 9. อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 10.โทรศัพท์กระป๋อง 11.แบบฝึกหัด

สรุป บทความ
บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ
    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

พื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย

1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ

Diary Note 24 November 2015

Diary Note No.15


-เพื่อนนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ครู บทความ

-ไปศึกษามหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558





 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-เจ้าหน้าที่ประจำบูทต่างได้แนะนำอธิบายความรู้ต่างๆให้ฟัง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของแต่ละบูท
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคต่างๆไปใ้กับเด็ก
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-เจ้าหน้าที่บอกเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์

Diary Note 17 November 2015

Diary Note No.14


ทำคุกกิ้ง(cooking)

บัวลอย แบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 ผสมแป้งและสีให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 ปั้นแป้งเป็นรูปวงกลมเล็กๆ
ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้มาใส่ในหม้อพอแป้งลอยก็ตักขึ้นและราดด้วยน้ำกะทิพร้อมรับประทาน



บลูเบอรี่ชีสพายแบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 นำโอริโอ้มาบดพร้อมใส่เนยที่ละลายมาแล้วผสมให้เข้ากัน
ฐานที่่ 2 นำครีมชีส มะนาว โยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง ตีให้เข้ากันแล้ว
ฐานที่ 3 นำบลูเบอรี่มาราดหน้าครีมที่ผสมมาและตกแต่งด้วยช็อคชิพเยลลี่




ไอศครีม แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน

อุปกรณ์
 นมสด เกลือ น้ำแข็ง ถึงซิปล็อค นมข้นหวาน วิปครีม 

วิธีทำ 
นำนมสด นมข้น วิปครีม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทใส่ถุงซิปล็อคขนาดเล็กและนำน้ำแข็งเกลือและนมสด
ที่ใส่ในถุงขนาดเล็กมาใส่ถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ และเขย่าจนกว่านมสดจะแข็งเป็นไอศครีม พอแข็งให้ตักแบ่ง
ใส่ถ้วนและตกแต่งด้วยช็อคชิฟวิปครีมพร้อมรับประทาน




 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 10 November 2015

Diary Note No.13


ทำคุกกิ้ง(cooking)


วาฟเฟิล จะแบ่งเป็น กลุ่ม โดยกลุ่มละ 3 คน โดยมี แป้ง ไข่ นม และน้ำ ตีให้เข้ากัน จากนั้นนำแป้งที่ผสม
ไปเทใส่เตาวาฟเฟิลพอสุกก็นำมาตกแต่ง



ข้าวทาโกยากิ จะแบ่งเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ตอกไข่และใส่ข้าวผสมให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 นำไปปรุงรส
ฐานที่ 3 นำไปใส่หลุม พลิกไปมาจนสุก
ฐานที่ 4 ราดซอสตกแต่งด้วยส่าหร่าย พร้อมรับประทาน


วาฟเฟิลกับข้าวทาโกยากิที่ทำสำเร็จ 


ตรวจแผนการทดลองและคุกกิ้ง




เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 3 November 2015

Diary Note No.12


อาจารย์ตรวจแผนและบอกข้อบกพร่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม 
แผนการทำคุกกิ้งและการทดลองโดยในแผนต้องมี

วัตถุประสงค์ ต้องควบคลุมทั้ง 4 ด้านของเด็ก

สาระที่ควรรู้ จะให้เด็กได้รู้จิงๆและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ

กิจกรรมการรู้ ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างถูกต้อง

แหล่งการเรียนรู้และสื่อ คือวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

การวัดและประเมินผล วัดจากการสังเกตเด็ก

บูรณาการโดยเกี่ยวข้องกับวิชาอื่นๆได้

เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกการเขียนแผนอย่างละเอียด
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การเขียนแผนการสอนอย่างถูกต้อง
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำการเขียนแผนที่ถูกต้องไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกข้อบกพร่องของการเขียนแผนของนักศึกษาแต่บอกสิ่งที่ถูกต้อง

Diary Note 27 October 2015

Diary Note No.11

Substance

แบ่งกลุ่ม 5-6 คน ทำกิจกรรม ดังนี้ 
  1. กิจกรรมดอกไม้บาน 
          
          อาจาร์ยแจกกระดานคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาตัดรูปดอกไม้แล้วระบายสี และให้เพื่อน 1 คน 
คอยจดพฤติกรรมของเพื่อน ในประเด็นที่น่าสนใจ
           จากนั้น นำดอกไม้ที่ตัดมาผับกลีบแล้วนำมาลอยในถาดที่มีน้ำ ให้เพื่อนสังเกตดอกไม้
ที่เอาไปวางบนน้ำ แล้วจดบันทึก ดอกไม้ที่เราเอาไปวางจะค่อยๆ บานออก แล้วแบ สุดท้ายก็ค่อยๆ 
จมไปในที่สุด

          สรุป  ดอกไม้ที่พับไว้บานออก เพราะ น้ำจะดูดซึมเข้าไปในช่องว่างทำให้กลีบดอกไม้บาน
 สีที่ระบายเปรียบเสมือนสมอง น้ำที่โดนสี เหมือนการเกิดการเรียนรู้ และสีที่เกิดใหม่ เปรียบเสมือน 
ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ส่วน ดอกไม้จม ก็เป็นเพราะว่า น้ำอยู่ทั่วพื้นที่ ทำให้ช่องว่างไม่มีเลยทำให้ดอกไม้
ที่ลอยอยู่นั้นจมลงไป

     2.กิจกรรมรูไหนพุ่งไกลกว่ากัน 


          นำขวดน้ำ 1 ขวด มาเจาะรู 3 รู ในระดับ บน กลาง ล่าง จากนั้นนำสก็อตเทปมาปิดรูไว้
 แล้วใส่น้ำให้เต็มขวด และให้นักศึกษาเดา ถ้าเราถึงสก็อตเทปออก น้ำรูในจะพุ่งได้ไกลกว่ากัน 
สังเกตและบันทึกการทดลอง ผลการทดลองออกมาว่า น้ำรูล่าง พุ่งได้ไกลที่สุด


          สรุป ผลการทดลอง น้ำรูล่างสุดพุ่งได้ไกลที่สุด ก็เพราะว่า รูที่อยู่ล่างสุดมีแรงดันอากาศที่เยอะกว่า
 ทำให้น้ำพุ่งมาจากรูด้านล่างมากที่สุด

        3. กิจกรรมแรงดันน้ำพุ



          เนื่องจากน้ำตามหลักความเป็นจริง น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ  เมื่อเราเทน้ำใส่ขวดที่มี
สายยางต่ออยู่ จึงทำให้น้ำไหนลงไปสู่ปลายสาย ยิ่งเรานำปลายสายอยู่ต่ำกว่าต้นสายมากเท่าไหร่ 
ก็จะทำให้น้ำพุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น 

        4.กิจกรรมเป่าเชือกจากหลอด




          นำไหมพรมมาร้อยใส่หลอดแล้วมัดให้แน่น จากนั้นให้นักศึกษาเป่าลมเข้าไปในหลอดในมุม 45 องศา 
 ลมที่เป่าผ่านหลอดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไหมพรมส่วนที่ห้อยอยู่เคลื่อนที่เป็นวงกลมได้

        5.กิจกรรมจากแรงดันอากาศ (ทฤษฎีของลูกยาง)



         นำกระดาษ A4 มาพับให้ได้ 8 ช่อง ตัดออกมา 1 อัน จากนั้น ใช้กรรไกรตัดตรงกลางครึ่งนึง
 แล้วพับกระดาษไปคนละข้างดังรูป เสร็จแล้วพับส่วนล่างของกระดาษเล็กน้อย และใล้คลิปมาติด
ส่วนด้านล่างไว้

         สรุป เมื่อเราโยนลูกยางที่เราทำขึ้นไปข้างบน อากาศที่เคลื่อนที่จะเข้ามาพยุงปีกทั้งสองข้างที่เราพับไว้
 จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่อยู่บนอากาศในนานขึ้นและตกลงสู่พื้นอย่างช้าๆ

         6.กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ



          นำน้ำใส่ถาด จากนั้นจุดเทียนแล้วนำเทียนไปใส่ไว้ในถาด แล้วนำแล้วไปครอบเทียนไว้ 
หลังจากที่นำแก้วมาครอบเทียนที่จุดไฟอยู่ ทำให้เทียนไขดับ แล้วน้ำก็จะเข้าไปสู่ในตัวแก้ว

          สรุป น้ำที่เข้าไปสู่ในตัวแก้ว เพราะ เมื่ออกซิเจนในแก้วถูกการเผาไหม้จนหมด 
จึงทำให้เทียนไขนั้นดับทำให้ความดันในแก้วมีน้อยกว่านอกแก้ว ความดันอากาศภายนอกจึง
ดันน้ำนอกแก้วเข้าไปข้างในที่มีความดันอากาศน้อยกว่า

         7.กิจกรรมกระจกสะท้อนแสง





          นำกระจก 2 แผ่นมาตั้งให้เป็นมุมสามเหลี่ยม จากนั้น นำรูปมาใส่ระหว่างกระจก จึงทำให้เกิด
ภาพสะท้อนเกิดขึ้น ดังภาพ

          สรุป  แสงจะสะท้อนจากกระจกอีกด้านนึง ไปอีกด้านนึง จึงทำให้เกิดภาพหลายๆ ภาพ


เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
  • อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ได้ทักษะการสังเกต Observe Skills
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำ ความรู้ที่ได้ในเรื่องการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในคาบ การทดลอง ไปใช้ในการ
  • จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการต่างๆ   ที่เกิดจากกิจกรรมที่พวกเราทำได้อย่างสมเหตุสมผล

diary  note  20 octorber  2015

Diary Note No.10


นำเสนอบทความ

เลขที่ 11 เรื่องทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด

นำเสนอของเล่น การทดลอง และของเล่นตามมุมของแต่ละกลุ่ม

  • เรื่องบ้าน(home)
  • เรื่องร่างกาย(body)
  • เรื่องยานพาหนะ(vehicles)
  • เรื่องผีเสื้อ(butterfly)
เรื่องดิน(soil) 

นาฬิกาทราย
อุปกรณ์ 
  • ขวดน้ำ 2 ขวด
  • ดินทราย
  • ฝาน้ำ 2 ฝา
  • เทปกาว 

วิธืการทำ
  • ฝาขวดน้ำมาเจาะรู ทั้งสองฝา
  • นำดินทรายใส่ขวดใดขวดหนึ่งปริมาณเท่าไหนก็ได้แล้วแต่เรา และนำฝาขวดมาปิดขวดน้ำแล้วนำขวดน้ำทั้งสองขวดมาปะกบกัน
  • นำเทปกาวใสใสแปะระหว่างฝาทั้งสองขวดเพื่อให้อยู่ติดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน 


ประสบการณที่ได้รับทางวิทยาศาสตร์
  • เด็กจะได้รู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ว่าสิ่งของจะอยู่ข้างบนยังงัยสิ่งของก็ต้องตกลงมาอยู่ข้างล่าง เหมือนนาฬิกาทราย ถ้าทรายอยู่ขวดบน ยังไงดินทรายก็จะไหลลงมาอยู่ขวดข้างล่าง


ของเล่นตามมุม


ลกล้มลุก
อุปกรณ์
  • ลูกบอล
  • ดิน
  • กระดาษสี
  • กาว
  • กรรไกร
  • ของตกแต่ง

วิธีทำ
  • นำลูกบอลมาตัดแบ่งครึ่งเพื่อเอาแต่ครึ่งเดียวจากนั้น นำดินเหนียวที่เตรียมไว้มาใส่ที่ลูกบอลที่ตัดแบ่งเรียบร้อยแล้ว
  • นำกระดาษสีมาแปะเพื่อตกแต่งตัวโลกล้มลุก

ประสบการณทางวิทยาศาสตร์

  • เช่นเดียวกับนาฬิกาทรายคือแรงโน้มถ่วง แต่โลกล้มลุกต่อให้เราผลักมันให้ล้มขนาดไหนมันก็จะกลับมาตั้งเป็นรูปร่างเหมือนเดิม เพราะมันมีดินที่คอยถ่วงงมันอยู่ข้างล่าง


การทดลองเรื่องการดูดซึมของดิน





อุปกรณ์
  • ดินทราย ดินเหนียว ดินร่วน
  • ขวดน้ำ 3 ขวด
  • กรรไกร
  • มุ้งลวด
  • กาว

วิธีทำ
  • นำขวดน้ำทั้ง3ขวดมาตัดเอาแต่ช่วงบน และนำฝาน้ำมาเจาะรู 
  • นำมุ้งลวด มาแปะที่ฝาขวดน้ำให้ติดกัน และนำนำขวดที่ตัดช่วงบนไปใส่ช่วงล่างที่ตัดไว้  จากนั้นนำดินทั้งสามชนิดใส่ขวดพร้อมที่จะทดลอง

การทดลอง
  • นำดินใส่ขวด และนำนำใส่พร้อมกันหลังจากนั้นให้สังเกตว่าดินชนิดไหนสามารถดูดซึมน้ำได้ดีที่สุดโดยสังเกตว่า  ถ้าดินชนิดไหนที่มีความหนาแน่นมากน้ำก็จะไหลผ่านได้ยาก แต่ถ้าดินชนิดไหนความหนาแน่นน้อยการดูดซึมของน้ำก็จะดี 

ผลการทดลอง
  • ดินร่วนน้ำจะดูดซึมได้ดีที่สุด
  • ดินทรายน้ำดูดซึมได้ช้ากว่าดินร่วน
  • ดินเหนียวน้ำไม่สามารถดูดซึมได้


ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
  • เด็กจะรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นของดิน ถ้าดินชนิดไหนที่มีความหนาแน่นมากน้ำก็จะไหลผ่านได้ยาก แต่ถ้าดินชนิดไหนความหนาแน่นน้อยการดูดซึมของน้ำก็จะดี



 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ให้นักศึกษาฝึกการกล้าแสดงออกในการนำเสนอสิ่งที่ละกลุ่มเตรียมมา และให้ช่วยกันแชร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับของเล่น
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นและการทดลองที่นำเสนอ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำของเล่นและการทดลองไปประยุกต์ใช้ได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์และการทดลองอย่างละเอียด